พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร
พระสมเด็จวัดระฆัง เป็นพระพิมพ์ที่เรียกตามชื่อของผู้สร้างคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พระสมเด็จวัดระฆังมีความเก่าแม้จะไม่ถึงเจ็ดแปดร้อยปี เหมือนพระเครื่องกรุ แต่พระสมเด็จก็มีเกียรติคุณอันวิเศษสุดเด่นดังและยรรยงที่สุดในอาณาจักรพระเครื่องทั้งหมด ลัทธิการนิยมเลื่อมใสพระเครื่อง คงจะเฟื่องฟูขึ้นมากในสมัยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านจึงได้สร้างพระสมเด็จๆ ออกแจกจ่ายอย่างแพร่หลายในยุคนั้น และพระเครื่องที่สมเด็จๆ ท่านสร้างคงจะได้รับความนิยมนับถือกันอย่างสูงสุดในเวลานั้นด้วย จึงทำให้ชื่อเสียงของสมเด็จวัดระฆังเป็นที่รู้จักและเรียกกันเป็นมนต์ขลังติดต่อกันมาไม่น้อยกว่าร้อยปีแล้ว จึงจัดเป็นวัตถุโบราณ ตามเกณฑ์ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกำหนดไว้
พระสมเด็จวัดระฆัง เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) ท่านอาจจะสร้างแล้วแจกจ่ายไปหมดในชั่วอายุของท่านโดยที่ไม่ได้เก็บเอาไว้หรือนำเข้าไปบรรจุกรุไว้ในที่แห่งใดเลย และท่านจะได้สร้างสมเด็จๆ ของท่านไว้เป็นจำนวณมากกี่พิมพ์ทรงก็ยังไม่มีผู้ใดสามารถที่จะทราบได้อย่างแน่นอน นอกจากจะเดาสุ่มหรือชื่อตามคำบอกเล่า ติดต่อกันมาของผู้ที่เกิดทันหรือใกล้ชิดในสมัยเจ้าประคุณสมเด็จๆ ท่านเท่านั้น ได้ยินพูดกันมานานแล้วว่า พรเะสมเด็จวัดระฆังมีกว่้า ๗๐ พิมพ์ทรง พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงนิยมมีราคาเช่ากันอย่างแพงลิบลิ่วในเวลานี้มีเพียง ๔ พิมพ์ทรงเท่านั้น ที่บรรดานักสะสมพระเครื่องทั้งหลายเสาะแสวงหากันแทบจะชั่วอายุวัยของแต่ละท่่านทีเดียว
พระสมเด็จวัดระฆังทั้งในปัจจุบัน และอดีตแบบพิมพ์ทรงแบ่งออกเป็น ๓ชนิด คือ
๑. พิมพ์ทรงที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
๒. แบบพิมพ์ทรงพิเศษในอดีต
๓. แบบพิมพ์ทรงที่มีผู้ทำขึ้นเองในปัจจุบัน
แบบหลังนี้เป็นสมเด็จๆ ทั้งพิเศษพิสดารของรูปทรง (คือ แบบปลอมแปลงก้นขึ้นเองของบรรดานักฉวยโอกาศ โดยไม่มีพิธีการสร้างให้ถูกวิธี)
พระสมเ็ด็จวัดระฆัง ๓ ชนิดคือ
๑. แบบพิมพ์ทรงนิยมกันอยู่ในปัจจุบัน
มีอยู่ ๔ พิมพ์เท่านั้น คือ
- พิมพ์ใหญ่ - พิมพ์ทรงเจดีย์
- พิมพ์ทรงฐานแซม - พิมพ์ทรงเกศบัวตูม
๒. พิมพ์ทรงพิเศษในอดีต
มีลักษณะไม่เหมือน ๔ พิมพ์แรก คือ สมเด็จเนื้ือดำผงใบลานเผา สมเด็จเนือผงชานหมาก สมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชา สมเด็จพิมพ์หน้าจั่ว สมเด็จพิมพ์เล็บมือ สมเด็จคะแนนขนาดเล็ก สมเด็จรูปหลวงพ่อโตเนื้อดินเผา สมเด็จพิมพ์หลังเบี้ย สมเด็จพิมพ์งบน้ำอ้อย และอื่นๆ พระสมเด็จพิมพ์พิเศษแบบต่างๆ ที่นักพระเครื่องรุ่นเก่ามักจะพูดอยู่เสมอ ทั้งหลักฐานและข้อเท็จจริง ไม่สามารถจะสืบได้ บางทีท่านเจ้าประคุณสมเด็จๆ ท่านอาจจะสร้างไว้บ้างก็ได้ใครจะรู้ แต่ท่านอาจจะสร้างไว้มีจำนวณน้อยมาก และนานเข้าเลยสูญหายไปหมด ไม่ค่อยจะมีผ่านเข้ามาในวงการพระเครื่องเลย ไม่มีใครรู้จักและทำให้คนรุ่นใหม่ขาดความชื่อถือ นานๆเข้ามีผู้ทำเทียมติดตามออกมามาก นักพระเครื่องทั้งหลายเลยไม่ยอมจัดเข้าสังคม หรือทำเนียบสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จพิมพ์ทรงต่างๆแบบนี้ ถ้าใครมีไว้จะคิดว่าเป็นของเจ้าประคุณสมเด็จๆ ท่านได้สร้างไว้ก็ไม่เสียหาย แต่ทำให้พูดได้อย่างพะอืดพะอมเต็มที หากพูดถึงเรื่องพุทธานุภาพและพุทธคุณ ก็มีค่าได้ไม่แพ้กับพิมพ์ีที่นิยมกัน หรืออาจมีพุทธคุณสูงกว่าด้วยซ้ำไป หากใครได้ครอบครองไว้ควรเก็บรักษาไว้ให้ดี เพราะท่านได้พบกับของดีแล้่ว
วัตถุมวลสารต่าวๆ ทีใช้สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง
สมเด็จวัดระฆังสร้างจากปูนขาวล้วนๆ พร้อมทั้งส่วนผสมของวัตถุและมวลสารต่างๆ อีกหลายชนิดด้วยกัน พระพิมพ์ที่สร้างด้วยปูนขาวรุ่นเก่าที่เคยพบตามกรุต่างๆ มักไม่ค่อยนิยมสร้างกันนัก นับว่าพระสมเด็จวัดระฆังเป็นพระเนื่้อผงสีขาว แบบเดียวกับพระสมเด็จและมีที่เก่ากว่าพระสมเด็จวัดระฆัง คือ พระวัดทัพเข้ืา ของจัดหวัดสุโขทัย
วัตถุและมวลสารทีใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างสมเด็จวัดระฆังนั้น มีกล่าวกันไว้อย่างมากมายว่าเจ้าประคุณสมเด็จๆท่านสร้างพระของท่านด้วยส่วนผสมของวัตถุต่างๆ หลายชนิด คือ ใช้ปูนขาวเป็นส่วนผสมหลัก ผสมด้วยเกศรดอกบัว เนื้อกล้วยและเปลือกกล้วยน้ำว้า น้ำมันตังอิ้ว ขี้ธูปในพระอุโบสถ ขี้ไคลใบเสมา น้ำอ้อย ปูน และดินกรุตามเจดีย์เก่าๆ เศษอาหารที่ท่านฉันแล้ว เศษชานหมาก ผงจากใบลานเผา น้ำมันจันทร์ปลุกเสก ข้าวสุก แร่หินทรายทองและว่านวิเศษต่างๆ นอกจากนี้ยังมีผงวิเศษซึ่งทำให้มีอิทธิฤทธิ์ในทางแคล้วคลาด ทางลาภเมตตามหานิยม ผงอันวิเศษนี้คือ ผงดินสอซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จๆ ท่านใช้เขียนอักขระขอมในเวลาลงสูตรยันต์ต่างๆ เช่น ทำผง ปถมัง องอิธะเจ ผงมหาราช และผงตรีนิสิงเห เป็นต้น และยังมีการทำลงเลขยันต์ ทำผงนะร้อยแปดต่างๆอีกด้วย นับว่าสมเด็จวัดระฆังสร้่างด้่วยวัีตถุธาตุอันวิเศษและมวลสารอันมากมายหลายชนิดตามที่ได้เล่าและบันทึกสืบต่อกัีนมา
พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงนิยมทั้ง ๔ พิมพ์ ที่กล่าวไว้ก่อน มีวัตถุและมวลสารต่างๆทีผสมอยู่ในเนื้อพระสมเด็จ ทั้ง ๔ พิมพ์ สมเด็จวัดระฆังสร้างด้่วยส่วนผสมของปูนขาวเป็นส่วนใหญ่ เนื้อพระจะออกสีขาวอมเหลืองแล้วแต่ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนผสมต่างๆ ความอัดของเนื้ออาจจะอัดแน่นรวมตัวเหมือนหินอ่อน หรือ ยุ่ยแตกยุบ เป็นผุยล้วนแล้วแต่เกิดจากอัตตราการผสมของ ส่วนผสม ซึ่งหามีส่วนผสมของปูนมากเป็นพิเศษ เนื้อพระอาจจะแกร่ง ดัี่งก้อนหิน หรือหากมีวัตถุที่ย่อยสลายได้ง่ายจากธรรมชาติ เนื้อหาอาจจะพรุน กระด่างถ้าผสมไม่ดี หรือถ้าผสมดี เนือพระอาจจะอ่อนนุ่ม คล้ายก้อนดิน หรืออาจจะมีคราบน้ำมันชนิดหนึ่งเกาะติดอยู่ บ้างจะแลเห็นเม็ดสีเหลืองเม็ดโต หยาบเท่าหัวไม้ขีดไฟก็มี เล็กละเอียดก็มี เม็ดผงสีเหลืองนี้เป็นส่วนผสมอย่างหนึ่ง ทีอยู่ในเนื้อพระสมเด็จ โดยยังไม่ทราบกันว่าเป็นผงอะไรแน่ แต่มักเรียกกันว่า ผงเม็ดพระธาตุหรือผงบุษราคัม แร่ทรายสีต่างๆ เล็กละเอียดมีผสมอยู่บ้าง เม็ดแร่หินสีเท่าจะพบแทบทุกองค์ นอกจากนี้ยังมีวัตถุแลเห็นเป็นจุดเล็กๆ สีดำ สีแดงคล้ายเกศรดอกไม้กับผงใบลานเผา บางองค์จะพบดินสีน้ำตาลไหม้ คล้ายกับว่านดอกมะขามแตก ของพระกำแพงทุ่งเศรษฐี แต่ด้วยว่ากันว่าท่านได้สร้างพระสมเด็จ ๘๔,๐๐๐ องค์เพือให้ครบจำนวนพระธรรมขันธ์ การสร้างไม่ได้สร้างเลยทีเดียว มีการสร้างขึี้นมาแล้วแต่วันเวลา ฤกษ์ วัตถุและมวลสารต่างๆ จึงเอาแน่เอานอนไม่ได้ ด้วยพลานุภาพแห่งเจ้าประคุณ โดยผู่ที่ได้นำไปบูชาติดตัว เกิดอิทธิหาติหารย์ต่างๆ จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วในยุคนั้น จนเป็นที่กล่าวขานและโจษย์จันกันไปทั่ว และเป็นที่เสาะแสวงหากันอย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งท่านไ้ด้ละสังขารไปแล้ว ได้เกิดโรคระบาด ท่านยังได้มานิมิต ในฝันบอกให้นำ้พระสมเด็จของท่าน แช่น้ำและดื่มน้ำนั้น จนทำให้คนยุคนั้น ปลดภัยและหลุดพ้นจากโรคร้าย ด้วยกาลเวลาที่ล่วงเลย และปัจจัยจากธรรมชาติต่างๆ อาทิน้ำท่วม การย้ายถิ่น เกิดแ่ก่ เจ็บตาย เวลาที่ผ่านไป นี้ทำให้ องค์พระจากปริมาณที่มากมาย ได้ถูกทำลายและหายไปกับกาลเวลานับไม่น้อย จะยังคงที่เห็นได้ชัดและยังมีมากก็องค์ที่มีส่วนผสมที่เป็นเนื้อแกร่ง แต่ถึงกระไรปริมาณพระนั้นก็มีน้อยมาก เพราะพระองค์ท่านจะอยู่คู่กับบุคคลที่ ถือศีลและนับถือบูชา มิได้อยู่กับบุคคลทัี่วไป ผู้ที่ได้ครอบครองนี้ มีแต่ความดีความสุข และความเจริญรุ่งเรื่องในชีวิต ดำเินินชีวิตในทางที่ถูกที่ควร ตกทุกย์ได้ยากนั้ไม่ย่างกราย ครอบครัวมีสุข ร่มเย็น เป็นศรีแก่วงศ์ตระกูล ตลอดกัปกัลป์
ประวัติการสร้างพระสมเด็จจากตรียัมปวาย
คนทั้งหลายเชื่อตามตรียัมปวายซึ่งอ้างถึงคำสัมภาษณ์พระธรรมถาวร (ช่วง) ซึ่งเป็นลูกศิษย์สมเด็จโต และอุปสมบทเมื่อท่านได้เป็นสมเด็จพุฒาจารย์ในปี พ.ศ. ๒๔๐๗ ว่าสมเด็จโตเริ่มสร้างพระเมื่อท่านอุปสมบทได้ ๒ ปี
หมายความว่า ปี พ.ศ. ๒๔๐๙ เป็นปีที่ท่านเริ่มสร้างพระ
พระธรรมถาวรอายุยืนถึง ๙๒ ปี ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ก่อนตรียัมปวายเขียนหนังสือเรื่องพระสมเด็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ถึง ๑๘ ปี
เป็นการอ้างอิงโดยไม่ได้สัมภาษณ์ด้วยตัวเอง
ที่พูดเช่นนี้มิใช่หมายความว่าตรียัมปวายจะผิดแต่ประการใด เพียงแต่เป็นข้อเท็จจริงประการหนึ่งประกอบการวิเคราะห์
๒.๒ จากหนังสือประวัติสมเด็จโต
หนังสือประวัติสมเด็จโตของ แฉล้ม โชติช่วง และมนัส ยอขันธ์ ที่พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ กล่าวไว้ในหน้า ๖๓๓ ว่าท่านสร้างพระไว้ ๙ พิมพ์ สมัยเป็นลูกวัดธรรมดายังไม่มีตำแหน่ง ซึ่งในหน้า ๖๒๘ บอกไว้ว่า
ท่านสอนนักธรรมบาลี ๘ ปี จึงไปธุดงค์ นั่นคือท่านเริ่มธุดงค์ปี พ.ศ. ๒๓๕๘
ปี พ.ศ. ๒๓๖๑ ท่านได้สมศักดิ์เป็นพระครูสามัญ แต่ท่านไม่รับ หนีไปไกล ๆ ถึงประเทศเขมร
ปี พ.ศ. ๒๓๗๘ ได้เป็นพระครูปริยัติธรรม
ปี พ.ศ. ๒๓๘๖ ได้เป็นพระราชปัญญาภรณ์
ปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ได้เป็นพระเทพกวีศรีวิสุทธินายก
ปี พ.ศ. ๒๓๙๘ ได้เป็นพระธรรมกิตติโสภณ
ปี พ.ศ. ๒๔๐๗ ได้เป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์
จะเห็นว่าปี พ.ศ. หลัง ๆ หนังสือประวัติสมเด็จโต เริ่มไม่ตรงกับหนังสืออื่น
หน้า ๖๔๘ บ่งไว้ว่าในปี พ.ศ. ๒๓๕๔ ท่านไปได้วิธีทำพระเครื่องจากกำแพงเพชร และพระพิมพ์เจดีย์แหวกม่านในหน้า ๖๐๕ เป็นพระที่ท่านสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๓ อายุ ๒๓ ปี พระพิมพ์พระประธาน วัดปากบาง ระบุไว้ในหน้า ๕๙๐ ว่าท่านสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๑ อายุ ๓๑ ปีส่วนพิมพ์ ๗ ชั้น บอกไว้ในหน้า ๔๘๖ ท่านสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๔ อายุ ๒๔ ปี
ดังนั้น ปี พ.ศ. ๒๓๕๓ เป็นปีที่ท่านเริ่มสร้างพระสมเด็จตามที่ระบุไว้ในหนังสือ ประวัติสมเด็จโต ซึ่งมาจากบันทึกของหลวงปู่ดำสหธรรมิกของสมเด็จโต